ชัยนาท ลวงปู่ศุขลือชา เขื่อนเจ้าพระยาลือชื่อ นามระบือสวนนก ส้มโอดกขาวแตงกวา ชัยนาทเป็นจังหวัดที่ตั้งอยู่บริเวณภาคกลางตอนบน
มีแม่น้ำหลายสายไหลพาดผ่าน ทำให้เมืองนี้มีความอุดมสมบูรณ์มาก
อีกทั้งเป็นเมืองที่มีประวัติศาสตร์มายาวนานตั้งแต่สมัยสุโขทัย
จึงมีสถานที่สำคัญทางประวัติศาสตร์ให้เห็นอยู่เป็นจำนวนมากปัจจุบันชัยนาทมีชื่อเสียงและมีสินค้าด้านหัตถกรรม
การจักสาน การปั้น การทอ การทำเครื่องเบญจรงค์ ที่มีฝีมือประณีต รูปแบบทันสมัย
ราคาย่อมเยา มีตลาดจำหน่ายทั้งในประเทศและต่างประเทศ โดยฝีมือของชาวบ้านกลุ่มต่าง
ๆ อีกด้วย
ชัยนาท
แปลตามศัพท์มีความหมายว่าชัยชนะที่มีเสียงบันลือ เป็นเมืองโบราณเมืองหนึ่ง
สร้างในสมัยพญาเลอไทแห่งกรุงสุโขทัย ระหว่าง พ.ศ. 1860-1879 ตั้งขึ้นหลังเมืองพันธุมวดี
(สุพรรณบุรี) โดยเป็นเมืองหน้าด่านของกรุงสุโขทัย
และมีฐานะเป็นเมืองหน้าด่านทางใต้ตัวเมืองเดิมอยู่บริเวณฝั่งขวาแม่น้ำเจ้าพระยาที่ปากคลองแพรกศรีราชา
ใต้ปากลำน้ำเก่า จึงได้ชื่อว่าเมืองแพรก หรือเมืองสรรค์ เมื่อกรุงสุโขทัยเสื่อมอำนาจลง
เมืองแพรกกลายเป็นเมืองหน้าด่านทางตอนเหนือของกรุงศรีอยุธยา
ต่อมาได้เกิดชุมชนใหม่ไม่ไกลจากเมืองสรรค์ มีเจ้าสามพระยา
(ซึ่งต่อมาคือสมเด็จพระบรมราชาธิราชที่ 2 แห่งกรุงศรีอยุธยา)
เป็นผู้ครองเมือง เมืองที่เกิดขึ้นใหม่นี้เป็นเมืองใหญ่ มีชื่อว่าชัยนาท
ที่ได้ชื่อเช่นนี้ก็เพราะชัยนาทเป็นเมืองยุทธศาสตร์ที่สำคัญ
เคยใช้เป็นที่ตั้งทัพรับศึกพม่าหลายครั้ง
และมีชัยทุกครั้งไปในสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว
ได้ทรงย้ายตัวเมืองจากบริเวณแหลมยางมาตั้งตรงฝั่งซ้ายแม่น้ำเจ้าพระยา
ส่วนเมืองสรรค์นั้นเสื่อมลงเรื่อยๆ เพราะผู้คนส่วนใหญ่อพยพไปอยู่ที่ชัยนาท
จนในที่สุดก็กลายเป็นเพียงอำเภอหนึ่งของชัยนาทจังหวัดชัยนาทมีเนื้อที่ประมาณ 1,543,591
ไร่ หรือประมาณ 2,469.74 ตารางกิโลเมตร
หรือเท่ากับร้อยละ 15.5 ของพื้นที่ภาคกลางตอนบน
พื้นที่โดยรวมของจังหวัดเป็นพื้นที่ราบลุ่ม มีแม่น้ำเจ้าพระยา แม่น้ำท่าจีน
แม่น้ำน้อย ไหลผ่านพื้นที่ต่างๆ ทั่วทุกอำเภอจังหวัดชัยนาทแบ่งเขตการปกครองออกเป็น
8 อำเภอ ได้แก่ อำเภอเมืองชัยนาท อำเภอหันคา อำเภอมโนรมย์
อำเภอสรรคบุรี อำเภอสรรพยา อำเภอวัดสิงห์ อำเภอหนองมะโมง และอำเภอเนินขาม
|