HOME
 
วางแผนท่องเที่ยว ตามปฏิทินเทศกาลประเพณี แต่ละจังหวัด__Click Here!! (Being Update/กำลังเพิ่มข้อมูล)
 
ประวัติ , การเดินทางไปจังหวัดพังงา & เบอร์โทรสำคัญ

ประวัติและความเป็นมา

จากบันทึกทางประวัติศาสตร์ในช่วงปลายศตวรรษที่ 18 เดิมที พื้นที่บริเวณนี้เป็นที่ตั้งของอำเภอตะกั่วป่า จนเมื่อช่วงรัตนโกสินทร์ในสมัยรัชการลที่ 1 ได้ยกฐานะขึ้นเป็นเมืองเทียบเท่ากับตะกั่วป่า เมืองตะกั่วทุ่งและโอนเมืองจากฝ่ายกรมท่ามาขึ้นเป็นฝ่ายกลาโหมตั้งแต่นั้นมา
หลักฐานที่แสดงให้เห็นว่าเมืองพังงาได้รับการจัดตั้งอย่างเป็นทางการในสมัยรัชกาลที่ 2 แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ เมื่อ พ.ศ. 2352 ซึ่งในปีนั้น พระเจ้าปดุงกษัตริย์พม่า ได้มอบหมายให้ อะเติงหวุ่นเป็นแม่ทัพนำกองทัพเรือของพม่าได้เข้าตีเมืองตะกั่วป่า ตะกั่วทุ่ง เมืองถลาง(ในจังหวัดภูเก็ต) ได้กวาดต้อนผู้คนไปรวมไว้ที่ค่ายของตน และเผาเมืองถลางเสีย พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย ได้โปรดเกล้าฯ ให้สมเด็จพระเจ้าน้องยาเธอ เจ้าฟ้ากรมหลวงเสนานุรักษ์กรมพระราชวังบวร ยกทัพหลวงจากกรุงเทพมหานครมาช่วยและขับไล่ได้ทัน

ช่วงสงครามในขณะนั้นได้มีราษฎรบางส่วนอพยพไปหลบภัยอยู่ที่ "กราภูงา" (ภาษามลายูแปลว่า ป่าน้ำภูงา) ซึ่งตั้งอยู่ปากแม่น้ำพังงา ที่มีภูเขาล้อมรอบ ครั้นเสร็จศึก แล้วกรมพระราชวังบวรมหาเสนานุรักษ์ทรงพระราชดำริว่า พม่าได้เผาเมืองถลางทำให้บ้านเมืองอ่อนแอลงยากที่จะสร้างขึ้นใหม่ จึงโปรดให้รวบรวมพลเมืองจากถลาง ข้ามฝากมาตั้งภูมิลำเนาที่ตำบลลำน้ำพังงา แขวงเมืองตะกั่วทุ่งและจัดการปกครองเป็นเมืองขึ้นกับเมืองนครศรีธรรมราช ดังปรากฏว่ามีหมู่บ้านชื่อ "ถลาง" ซึ่งเป็นผู้คนที่อพยพ จากอำเภอถลาง มาอยู่ในเขตท้องที่อำเภอตะกั่วทุ่งในปัจจุบันต่อมา

สมัยรัชกาลที่ 3 ทรงพระราชดำริที่จะปรับปรุงบูรณะหัวเมืองชายฝั่งตะวันตกที่ถูกพม่าตีให้เข้มแข็งจึงได้แต่งตั้งข้าราชการมาเป็นเจ้าเมืองดังกล่าว โดยให้ขึ้นตรงต่อกรุงเทพมหานครและได้ทรงแต่งตั้งให้พระยาบริรักษ์ภูธร (แสง ณ นคร) เป็นเจ้าเมืองพังงาคนแรก ในปี พ.ศ. 2383 รวมทั้งได้ยุบเมืองตะกั่วทุ่ง เป็นอำเภอขึ้นกับเมืองพังงา

ในช่วงระยะเวลาทั้งหมดนี้เหมืองดีบุกกำลังเฟื่องฟูและเป็นแหล่งแร่ที่ดีที่สุดของประเทศไทย ทำให้เป็นที่ดึงดูดและสนใจ จึงมีต่างชาติติดต่อซื้อขายแร่ดีบุกกันมากและรัฐบาลกลางเองด้วย เนื่องจากให้เป็นการเพิ่มรายได้ให้กับประชาชนและกลายเป็นช่วงฐานเศรษฐกิจไปทั่วโลกในช่วง ปี พ.ศ. 2473

ในช่วงปีพ.ศ. 2474 ได้มีการรวมตัวยุบเมืองตะกั่วป่าให้ขึ้นกับจังหวัดพังงาเป็นต้นมา อาคารศาลากลางหลังเก่าที่สวยงามที่สุดของจังหวัดพังงาได้สร้างขึ้นที่บ้านชายค่าย ต่อมาในปี พ.ศ. 2473 จึงได้สร้างศาลากลางจังหวัดขึ้นที่บ้านท้ายช้างและต่อมาในปี พ.ศ. 2515 ก็ได้สร้างศาลากลางหลังใหม่ขึ้นบริเวณถ้ำพุงช้างจนถึงปัจจุบัน

**สาเหตุที่เมืองภูงากลายเป็นเมืองพังงานั้น สันนิษฐานกันว่าน่าจะเนื่องมาจากเมืองภูงาเป็นเมืองที่มีแร่อุดมสมบูรณ์ มีฝรั่งมาติดต่อซื้อขายแร่ดีบุกกันมาก และฝรั่งเหล่านี้คงจะ ออกเสียงเมืองภูงาเป็นเมือง "พังงา" ไปเพราะแต่เดิมฝรั่งเขียนชื่อเมืองภูงาว่า PHUNGA หรือ PUNGA ซึ่งอาจอ่านว่า ภูงา, พังงา หรือ พังกา ก็ได้

Cr.http://www.sawadee.co.th/phangnga/history.html

การเดินทางไปจังหวัดพังงา

1. โดยรถยนต์ส่วนตัว
- ใช้ทางหลวงหมายเลข 4 (ถนนเพชรเกษม)ไปจนถึงจังหวัดชุมพร จากนั้นตรงไปตามทางหลวงหมายเลข 41 จนถึง อ.พุนพิน ตรงสี่แยกเข้าจังหวัดสุราษฎร์ธานี จากนั้นเลี้ยวขวาเข้าทางหลวงหมายเลข 401 ประมาณ 40 กม. จะผ่านอ.บ้านตาขุน เส้นทางนี้จะเป็นถนน 2 เลน เมื่อถึงสายแยกที่บ้านพังกวนเหลือ ให้เลี้ยวซ้ายเข้าทาง หลวง หลายเลข 415ประมาณ 50 กม. จะพบสามแยก เลี้ยวขวาเข้าทางหลวงหมาย 4 ตรงไปประมาณ 10 กม. จะถึง อ.ทับปุด เลี้ยวซ้ายผ่านตลาดเข้าทางหลวงหมายเลข 415 อีกครั้ง ตรงไปจากทับปุดถึงพังงา ประมาณ 26 กม. รวมระยะทางจากกรุงเทพถึงพังงา ประมาณ 788 กม. ใช้เวลาเดินทางประมาณ 11-12 ชม.หากเดินทางจากภูเก็ต ให้ใช้เส้นทางหลวงหมายเลข 402 ผ่านสะพานสารสิน เข้าเขตบ้านท่านุ่น เข้าสามแยกบ้านต้นแซะไปทางขวา เข้าถนนบายพาสตรงไปพังงาหรือไม่ต้องผ่านสามแยกต้นแซะ แต่เข้าเลนซ้ายตลอด ผ่านตลาดโคกกลอยตรง ไปพังงา ประมาณ 89 กม. ใช้เวลาเดินทาง ประมาณ 1 ชม. 30 นาที
- ใช้ทางหลวงหมายเลข 4 (ถนนเพชรเกษม) ผ่าน จ.เพชรบุรี ประจวบคีรีขันธ์ ไปจนถึงสี่แยกปฐมพร จ.ชุมพร เลี้ยวขวาลัดเลาะไปตามไหล่เขาจนถึง จ.ระนอง เส้นทางช่วงนี้เป็นทางแคบ 2เลน ทั้งยังเป็นทางขึ้นลงเขาที่ค่อน ข้างคดเคี้ยว ควรขับรถด้วยความระมัดระวัง เมื่อเข้าเขต จ.พังงา ที่ อ.คุระบุรี ก็จะเป็นทางคดเคี้ยวเช่นเดียวกัน จากนั้น เข้าสู่ อ.ตะกั่วป่า อ.ท้ายเหมือง ตามลำดับ เมื่อถึง ต.โคกกลอยให้เลี้ยวซ้ายไปทาง อ.ตะกั่วทุ่ง เพื่อเข้าสู่ ตัวเมืองพังงา ระยะทางประมาณ 800 กม. ใช้เวลาเดินทาง ประมาณ 12-13 ชม.2.รถโดยสารประจำทาง
บริษัท ขนส่ง จำกัด มีรถโดยสารประจำทางทั้งแบบปรับอากาศและธรรมดา กรุงเทพฯ-พังงา บริการทุกวัน ออกจากสถานีขนส่งสายใต้ ใช้เวลาในการเดินทางประมาณ 10 ชั่วโมง สอบถามรายละเอียดได้ที่ โทร. 02 894 6122 จองตั๋วบขส. โทร. 02 422 4444 หรือ www.transport.co.th สถานีพังงา ถนนเพชรเกษม (หลังธนาคารหลวงไทย) โทร. 0 7641 2300, 0 7641 2014 และบริษัทลิกไนท์ทัวร์ จากกรุงเทพไปยังพังงา ให้บริการทุกวัน ทั้งรถปรับอากาศชั้น 1 และ 2 ใช้เวลาเดินทางประมาณ 12 ชม.หรือนั่งรถกรุงเทพ-ภูเก็ต ไปลงที่พังงา หรือที่ อ.ตะกั่วป่า ได้ด้วย บริษัทลิกไนท์ทัวร์ บ.ลิกไนท์ทัวร์ 02-8946151 - 6152 -6153 (พังงา) 0-7641-2300 บ.ภูเก็ตท่องเที่ยว 02-8946144 - 45,บ.ภูเก็ตเซ็นทรัล 02-8946171 - 2

3.รถไฟ
การรถไฟแห่งประเทศไทย มีขบวนรถไฟออกจากกรุงเทพฯ ไปลงที่สถานีพุนพิน จังหวัดสุราษฎร์ธานี แล้วต่อ รถโดยสารประจำทางไปจังหวัดพังงาอีกประมาณ 2 ชั่วโมง สอบถามรายละเอียดได้ที่ สถานีรถไฟหัวลำโพง
โทร. 1690, 0 2 223 7010, 0 2223 7020 หรือ www.railway.co.th

4.เครื่องบิน
ไม่มีเที่ยวบินตรงมายังพังงา แต่สามารถเดินทางด้วยเครื่องบินไปลงที่ภูเก็ตหรือกระบี่ แล้วต่อรถโดยสารเข้าพังงา
เที่ยวบินกรุงเทพฯ-ภูเก็ต ติดต่อการบินไทย โทร. 0 2356 1111 www.thaiairways.com ไทยแอร์เอเชีย
โทร. 0 2515 9999 www.airasia.com บางกอกแอร์เวย์ส โทร. 0 2270 6699 www.bangkokair.com สายการบินนกแอร์ โทร. 1318 www.nokair.com และวัน ทู โก โทร. 1126 www.fly12go.com

เที่ยวบินกรุงเทพฯ-กระบี่ ติดต่อการบินไทย โทร. 0 2356 1111 หรือ www.thaiairways.com และสายการบินไทยแอร์เอเชีย โทร. 0 2515 9999 หรือ www.airasia.com

ในตัวเมืองพังงามีรถโดยสารประจำทางไปยังอำเภอต่างๆ ได้อย่างสะดวก นักท่องเที่ยวสามารถเลือกใช้บริการ ยานพาหนะได้หลายรูปแบบตามอัธยาศัย สอบถามรายละเอียดได้ที่สถานีขนส่งพังงา โทร. 0 7641 2300
นอกจากนี้ยังมีรถสองแถวไปยังแหล่งท่องเที่ยวต่าง ๆ เช่น ถ้ำพุงช้าง ถ้ำฤาษีสวรรค์ ฯลฯ คิวรถสองแถวและ รถตู้ส่วนใหญ่อยู่ในตัวเมืองและบริเวณสถานีขนส่งพังงา นอกจากเส้นทางบนบก ยังมีท่าเรือสำหรับไป เที่ยว เกาะหลายแห่ง เช่น ไปเที่ยวอ่าวพังงา ติดต่อเรือได้ที่ท่าเรือบริเวณที่ทำการอุทยานแห่งชาติอ่าวพังงา ท่าเรือ ท่าด่านศุลกากร เป็นท่าที่อยู่ใกล้ตัวเมืองที่สุด ท่าเรือสุระกุล (ท่าเรือกระโสม) อยู่ในอำเภอตะกั่วทุ่ง ไปหมู่เกาะ สุรินทร์หรือเกาะพระทอง ติดต่อเรือได้ที่ท่าเรือคุระบุรี ไปหมู่เกาะสิมิลัน ติดต่อเรือได้ที่ท่าเรือทับละมุ ไป เกาะยาวน้อย-เกาะยาวใหญ่ ติดต่อเรือได้ที่ท่าเรือท่าด่านศุลกากร เป็นต้น

ระยะทางจากอำเภอเมืองพังงาไปยังอำเภอต่างๆ คือ
อำเภอตะกั่วทุ่ง 12 กิโลเมตร
อำเภอทับปุด 26 กิโลเมตร
อำเภอกะปง 47 กิโลเมตร
อำเภอท้ายเหมือง 57 กิโลเมตร
อำเภอตะกั่วป่า 65 กิโลเมตร
อำเภอคุระบุรี 125 กิโลเมตร
อำเภอเกาะยาว 138 กิโลเมตร

หมายเลขโทรศัพท์สำคัญ (รหัสทางไกล 076)


 ตำรวจท่องเที่ยว 1155
 กู้ภัยในพื้นที่บางเนียง 1669
 แจ้งกู้ภัยในพื้นที่ / อุบัติเหตุฉุกเฉิน กู้ภัยเขาหลัก บางเนียง 1669
 สถานีตำรวจภูธรตะกั่วป่า 076 421 113 , 076 424 609
 สถานีตำรวจภูธรเขาหลัก จังหวัดพังงา 076 487 519
 โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลลำแก่น 0 76443280 076 595 243
 โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลทุ่งมะพร้าว 076 445 071
 โรงพยาบาลท้ายเหมืองชัยพัฒน์ 076 571 505
 โรงพยาบาลพังงา 076 414 145

Cr. http://banbangniang.com/เบอร์โทรสำคัญ/


 

สถานที่ท่องเที่ยว 77 จังหวัด          12 เดือน ดาว 9 ตะวัน 

 

  

Krabi-Your Dream Holiday        View Finder-เกาะพีพี                          

    

               The Most Beautiful Island in Thailand

                                                

 
 
×