HOME
 
วางแผนท่องเที่ยว ตามปฏิทินเทศกาลประเพณี แต่ละจังหวัด__Click Here!! (Being Update/กำลังเพิ่มข้อมูล)
 
ประวัติ , หมายเลขโทรศัพท์ที่สำคัญ & การเดินทางไปจังหวัดศรีสะเกษ

ข้อมูลทั่วไปจังหวัดศรีสะเกษ

จังหวัดศรีสะเกษ เป็นจังหวัดชายแดนในภาคอีสานตอนล่าง ที่เต็มไปด้วยเรื่องราวทางประวัติศาสตร์ อารยธรรม และศิลปวัฒนธรรมของหลากหลายชนชาติ โดยเฉพาะขอมโบราณ ที่ผสมผสานเข้ากับวิถีชีวิตพื้นบ้านแบบไทย อีสานได้อย่างลงตัวและกลมกลืน มีเอกลักษณ์โดดเด่นและน่าสนใจศรีสะเกษยังมีทรัพยากรธรรมชาติ ทั้งป่าไม้ แหล่งน้ำ พืชพรรณ และสัตว์ป่านานาชนิด อันเป็นทั้งสิ่งที่หล่อเลี้ยงชาวเมืองมาเป็นเวลาช้านาน และเป็นสถานที่ ท่องเที่ยว ที่สวยงามและไม่ควรมองข้าม จังหวัดศรีสะเกษมีเนื้อที่ประมาณ 8,840 ตารางกิโลเมตร หรือ 5.52 ล้านไร่ เป็นจังหวัดที่มีขนาดใหญ่เป็นอันดับที่ 21 ของประเทศ สภาพพื้นที่ส่วนใหญ่เป็นที่ราบลอนลาด ทางตอน เหนือ เป็นที่ราบลุ่มแม่น้ำ มีแม่น้ำมูลไหลผ่าน ทางตอนใต้มีทิวเขาพนมดงรักทอดตัวในแนวตะวันตก-ตะวันออก เป็น เส้นแบ่งเขตแดนระหว่างไทยกับกัมพูชา มียอดเขาสูงสุด คือ พนมโนนอาว อยู่ในเขตอำเภอกันทรลักษ์ มีความสูง 671 เมตร จากระดับน้ำทะเลปานกลาง
ศรีสะเกษ เป็นเมืองที่มีประวัติความเป็นมายาวนาน ในอดีตเคยเป็นชุมชนที่มีความเจริญรุ่งเรืองมากนานนับพันปี ตั้งแต่ในยุคขอมเรืองอำนาจ และมีชนเผ่าต่างๆ จากหลายเชื้อชาติอพยพมาตั้งรกรากอยู่ในบริเวณนี้จำนวนมาก ทั้งพวกส่วย ลาว เขมร และเยอ ในปี พ.ศ. 2302 สมัยกรุงศรีอยุธยาตอนปลาย สมเด็จพระเจ้าเอกทัศน์โปรด เกล้าฯ ให้ยก บ้านปราสาทสี่เหลี่ยมดงลำดวน ซึ่งตั้งอยู่บริเวณที่เป็นตำบลดวนใหญ่ อำเภอวังหิน ในปัจจุบัน ขึ้น เป็น “เมืองนครลำดวน” ซึ่งต่อมาได้ย้ายไปตั้งที่ริมหนองแตระ และมีชื่อใหม่ว่า "เมืองขุขันธ์" หรือ "เมืองคูขัณฑ์" โดยมี “หลวงแก้วสุวรรณ” ซึ่งได้รับบรรดาศักดิ์เป็น “พระยาไกรภักดี” เป็นเจ้าเมืองคนแรก ต่อมาในสมัย พระบาท สมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช รัชกาลที่ 1 โปรดเกล้าฯ ให้แยกบ้านโนนสามขาสระกำแพงออกจาก เมือง ขุขันธ์ แล้วตั้งเป็นเมืองใหม่เรียกว่า “เมืองศรีสะเกศ” จนกระทั่งในสมัยของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้า เจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 โปรดเกล้าฯ ให้รวมเมืองศรีสะเกศและเมืองเดชอุดมเข้าเป็นเมืองเดียวกับเมืองขุขันธ์ มีศูนย์ กลางการปกครองอยู่ที่บ้านเมืองเก่า ตำบลเมืองเหนือ อำเภอเมืองศรีสะเกษในปัจจุบัน ต่อมาใน พ.ศ. 2459 มีการเปลี่ยนคำว่า “เมือง” เป็น “จังหวัด” เมืองขุขันธ์จึงเปลี่ยนเป็น "จังหวัดขุขันธ์" ซึ่งเปลี่ยนอีกครั้งเป็น “จังหวัดศรีสะเกษ” เมื่อวันที่ 14 พฤศจิกายน พ.ศ. 2481 ตามพระราชกฤษฎีกาเปลี่ยนนามจังหวัดและอำเภอ บางแห่งพุทธศักราช 2481

ปัจจุบันจังหวัดศรีสะเกษแบ่งเขตการปกครองออกเป็น 20 อำเภอ 2 กิ่งอำเภอ ได้แก่ อำเภอเมืองศรีสะเกษ อำเภอยางชุมน้อย อำเภอกันทรารมย์ อำเภอกันทรลักษ์ อำเภอขุขันธ์ อำเภอไพรบึง อำเภอปรางค์กู่ อำเภอขุนหาญ อำเภอราษีไศล อำเภออุทุมพรพิสัย อำเภอบึงบูรพ์ อำเภอห้วยทับทัน อำเภอโนนคูณ อำเภอศรีรัตนะ อำเภอน้ำเกลี้ยง อำเภอวังหิน อำเภอภูสิงห์ อำเภอเมืองจันทร์ อำเภอเบญจลักษ์ อำเภอพยุห์ กิ่งอำเภอโพธิ์ศรีสุวรรณ และกิ่งอำเภอศิลาลาด

ทิศเหนือ ติดต่อจังหวัดยโสธร และร้อยเอ็ด
ทิศใต้ ติดต่อประเทศกัมพูชา โดยมีเทือกเขาดงรัก เป็นแนวกั้นเขตแดน
ทิศตะวันออก ติดต่อจังหวัดอุบลราชธานี
ทิศตะวันตก ติดต่อจังหวัดสุรินทร์

สำนักงานจังหวัดศรีสะเกษ 611531 หรือ 612581
ประชาสัมพันธ์จังหวัดศรีสะเกษ 611574
ศูนย์ประสานการท่องเที่ยวจังหวัดศรีสะเกษ 611574
บริษัทขนส่งจังหวัดศรีสะเกษ 612523
สถานีเดินรถจังหวัดศรีสะเกษ 612500
สถานีตำรวจภูธรอำเภอเมืองศรีสะเกษ 612732, 611331
ที่ว่าการอำเภอเมืองศรีสะเกษ 612866
โรงพยาบาลเมืองศรีสะเกษ 612502 หรือ 611503
 
 

การเดินทางไปจังหวัดศรีสะเกษ

ศรีสะเกษอยู่ห่างจากกรุงเทพฯ ประมาณ 540 กิโลเมตร นักท่องเที่ยวสามารถเดินทางสู่จังหวัด ศรีสะเกษได้ หลายวิธี ทั้งทางรถยนต์ส่วนตัว รถประจำทาง และรถไฟ

1.โดยรถยนต์
จากกรุงเทพฯ สามารถไปได้ 2 เส้นทาง คือ
- ใช้ทางหลวงหมายเลข 1 (พหลโยธิน) จนถึงจังหวัดสระบุรี แยกขวาเข้าสู่ทางหลวงหมายเลข 2 (มิตรภาพ) ไปจนถึงจังหวัดนครราชสีมา จากนั้นแยกใช้ทางหลวงหมายเลข 226 ผ่านจังหวัดบุรีรัมย์ จังหวัดสุรินทร์ ถึงจังหวัดศรีสะเกษ
-ใช้ทางหลวงหมายเลข 1 (พหลโยธิน) จนถึงจังหวัดสระบุรี แยกขวาเข้าสู่ทางหลวงหมายเลข 2 (มิตรภาพ) ไปจนถึงอำเภอสีคิ้ว แยกเข้าทางหลวงหมายเลข 24 (โชคชัย-เดชอุดม) ผ่านอำเภอโชคชัย อำเภอนางรอง อำเภอสังขะ แล้วเลี้ยวซ้ายเข้าสู่ตัวเมืองศรีสะเกษ โดยใช้เส้นทางหมายเลข 220 หรือ 221 ก็ได้

2.โดยรถประจำทาง
มีรถโดยสารปรับอากาศของบริษัท ขนส่ง จำกัด และของเอกชน สายกรุงเทพฯ-ศรีสะเกษ ออกจากสถานีขนส่ง สายเหนือ (หมอชิต 2) ถนนกำแพงเพชร 2 ทุกวัน วันละหลายเที่ยว ใช้เวลาเดินทางประมาณ 8-9 ชั่วโมง สอบถาม รายละเอียดได้ที่บริษัท ขนส่ง จำกัด โทร.1490 www.transport.co.th
ปัจจุบันบริษัท ขนส่ง จำกัด ได้เปิดให้บริการจองตั๋วรถโดยสารออนไลน์แล้ว ติดต่อได้ที่ www.thaiticketmajor.com นอกจากนี้ยังสามารถซื้อตั๋วออนไลน์ได้ที่ไทยรูท ดอทคอม www.thairoute.com

3.โดยรถไฟ
การรถไฟแห่งประเทศไทยมีบริการรถไฟออกจากสถานีรถไฟกรุงเทพ (หัวลำโพง) ไปยังจังหวัดศรีสะเกษทุกวัน ทั้งรถเร็ว รถด่วน และรถด่วนพิเศษ ใช้เวลาเดินทางประมาณ 9-11 ชั่วโมง สอบถามรายละเอียดได้ที่ การรถไฟ แห่งประเทศไทย โทร. 1690 หรือ www.railway.co.th

ในตัวจังหวัดศรีสะเกษมีรถชนิดต่างๆ ให้บริการ นักท่องเที่ยวสามารถเลือกใช้บริการยานพาหนะต่างๆ ได้หลายรูป แบบตามความเหมาะสมรถสองแถว มีวิ่งบริการจากสถานีขนส่งไปยังที่ต่างๆ ในตัวเมือง นักท่องเที่ยวอาจเหมารถ สองแถวไปเที่ยวได้ทั้งใน เมืองและต่างอำเภอ คิดราคาวันละ 1,000-2,000 บาท ขึ้นอยู่กับระยะทางและ การต่อ รองรถสามล้อเครื่องและมอเตอร์ไซค์รับจ้าง จอดอยู่ตามจุดต่างๆ ในจังหวัด เช่น หน้าตลาดเทศบาลหน้าสถานี ขนส่ง ค่าบริการมีทั้งแบบตกลงกันตามแต่ระยะทางและแบบเหมาจ่าย

ระยะทางจากอำเภอเมืองศรีสะเกษไปยังอำเภอต่างๆ คือ

อำเภอพยุห์ 21 กิโลเมตร
อำเภออุทุมพรพิสัย 24 กิโลเมตร
อำเภอกันทรารมย์ 26 กิโลเมตร
อำเภอภูสิงห์ 28 กิโลเมตร
กิ่งอำเภอโพธิ์ศรีสุวรรณ 29 กิโลเมตร
อำเภอยางชุมน้อย 32 กิโลเมตร
อำเภอวังหิน 35 กิโลเมตร
อำเภอศรีรัตนะ 37 กิโลเมตร
อำเภอห้วยทับทัน 37 กิโลเมตร
อำเภอราษีไศล 38 กิโลเมตร
อำเภอเมืองจันทร์ 40 กิโลเมตร
อำเภอบึงบูรพ์ 42 กิโลเมตร
อำเภอไพรบึง 42 กิโลเมตร
อำเภอน้ำเกลี้ยง 44 กิโลเมตร
อำเภอขุขันธ์ 49 กิโลเมตร
กิ่งอำเภอศิลาลาด 50 กิโลเมตร
อำเภอโนนคูณ 56 กิโลเมตร
อำเภอขุนหาญ 60 กิโลเมตร
อำเภอปรางค์กู่ 60 กิโลเมตร
อำเภอกันทรลักษ์ 63 กิโลเมตร
อำเภอเบญจลักษ์ 80 กิโลเมตร

 

สถานที่ท่องเที่ยว 77 จังหวัด          12 เดือน ดาว 9 ตะวัน 

 

  

Krabi-Your Dream Holiday        View Finder-เกาะพีพี                          

    

               The Most Beautiful Island in Thailand

                                                

Back
 
 
×