HOME
 
วางแผนท่องเที่ยว ตามปฏิทินเทศกาลประเพณี แต่ละจังหวัด__Click Here!! (Being Update/กำลังเพิ่มข้อมูล)
 
ตึกโบราณสถาปัตยกรรมแบบชิโน-โปรตุกีส
 

รายละเอียดสถานที่ท่องเที่ยว :  More@รวมVDO

วันเปิดทำการ: ทุกวัน     หมวดหมู่ : หมู่บ้าน ชุมชน, บ้านโบราณ, แลนด์มาร์กและอนุสรณ์สถาน

เวลาเปิดทำการ: 06.00 - 20.00

ถนนถลาง ถนนดีบุก อำเภอเมือง ภูเก็ต

ในตัวเมืองภูเก็ตส่วนมากเป็นตึกสมัยเก่ามีลักษณะทางสถาปัตยกรรมแบบยุโรป สร้างขึ้นเกือบร้อยปีมาแล้ว เมื่อครั้งกิจการเหมืองแร่เริ่มเจริญใหม่ๆ อาทิ อาคารปัจจุบันที่ทำการศาลากลางจังหวัด ศาลจังหวัด ธนาคารนครหลวงไทย นอกจากนี้ยังมีอาคารบางส่วนที่ได้รับอิทธิพลทางด้านสถาปัตยกรรมแบบจีนมาผสมผสาน เรียกว่า สถาปัตยกรรมแบบ “ชิโน-โปรตุกีส” (Sino-Portuguese) คืออาคารจะมีส่วนลึกมากกว่าส่วนกว้างและไม่สูงนัก สามารถหาชมได้บริเวณถนนถลาง ถนนดีบุก ถนนพังงา ถนนเยาวราช และถนนกระบี่

 

เมืองเก่าภูเก็ต ชิโนโปรตุกีส

 ภูเก็ตยังจัดว่าเป็นเมืองที่มีประวัติศาสตร์และความรุ่งเรืองอันยาวนานอีกเมืองหนึ่งของไทยโดยหนึ่งในรอยอดีต อันรุ่งเรืองของภูเก็ตตึกเก่าแบบชิโน-โปรตุกีสถูกสร้างขึ้นเป็นครั้งแรกเมื่อปี พ.ศ. 2446 เนื่องจากการทำเหมือง แร่ที่เติบโตทำให้ชาวจีนและชาวตะวันตกต่างหลั่งไหลเข้ามาที่เมืองภูเก็ตเป็นจำนวนมาก เมื่อเข้าสู่เขตเทศบาล เมือง ภูเก็ตสิ่งแรกที่ผู้ไปเยือนจะรู้สึกสะดุดตาก็คือตึกเก่าที่ตั้งตระหง่านอยู่ในย่านการค้าเก่าเเก่ของเมือง เป็น อาคารสไตล์ ์"ชิโนโปรตุกีสที่ผสมผสานเอาความเป็นศิลปะตะวันตกและตะวันออกเข้าไว้ด้วยกันอย่าง กลมกลืน จนเป็นเอกลักษณ์ ์ที่โดดเด่นของเมืองภูเก็ต ตึกเก่าเหล่านี้กระจายอยู่ทั่วตัวเมืองภูเก็ต สามารถเดินชมได้อย่างต่อ เนื่อง นอกจากนี้ยังมีร้านอาหารอร่อยหลายเจ้าให้เที่ยวไปกินไปอย่างเพลิดเพลินและทางเทศบาล เมืองภูเก็ต ก็ได้เห็นถึงความสำคัญของ สถาปัตยกรรมเหล่านี้ โดยได้ทำการอนุรักษ์รูปแบบสถาปัตยกรรมชิโนโปรตุกีสนี้ ไว้และจัดให้เป็นอีกหนึ่งตัวเลือก ของการท่องเที่ยว จัดให้มีเส้นทางเดินชมเมืองเก่าภูเก็ต เพื่อให้นักท่องเที่ยวได้ สัมผัสกับความสวยงามของบ้านเรือนเก่าแก่ของภูเก็ตและสถาปัตยกรรมชิโนโปรตุกีส ที่สวยงาม พร้อมๆกับได้ สัมผัสวัฒนธรรมและวิถีชีวิต ความเป็นอยู่ ู่ของคนภูเก็ตและที่สำคัญอาหารอร่อยเลื่องชื่อการเดิน ชมเมืองเก่า เสน่ห์แห่ง ชิโนโปรตุกีส เป็นเส้นทางประวัติศาสต ์ที่ควรค่าแก่การศึกษายิ่ง

 
แม้ว่าตึกเก่าเหล่านี้จะกระจายอยู่ทั่วเมืองภูเก็ต แต่ย่านที่มีอาคารเก่าหนาแน่น คือ ถ. ดีบุก กระบี่ ถลาง และ เยาวราช เนื่องจากถนนเหล่านี้เป็นย่านเก่าของภูเก็ตประวัติ ในอดีตเมืองท่าสำคัญทางฝั่งตะวันตกของแหลมมลายู มีชาวจีนเข้ามาค้าขายกันมาก ก่อนตกเป็นอาณานิคมของชาติตะวันตก เช่น เมืองมะละกา มีโปรตุเกส ฮอลันดา และอังกฤษ ผลัดเปลี่ยนกันครอบครอง และนำรูปแบบศิลปวัฒนธรรมเข้ามาเผยแพร่ สถาปัตยกรรมจึงมีลักษณะ ผสมผสานกันระหว่างศิลปะตะวันตกและศิลปะตะวันออก เรียกว่า อาคารแบบโคโลเนียล จากนั้นก็ส่งอิทธิพลไป ตามเมืองท่าต่างๆอย่างสิงคโปร์ และปีนังซึ่งมีสายสัมพันธ์โดยตรงกับภูเก็ต
โรงแรมออนออน โรงแรมแห่งแรกที่เก่าแก่ที่สุดในภูเก็ต
โรงแรมออน
สถาปัตยกรรมแบบชิโน-โปรตุกีสแบ่งเป็นสองประเภทคือ
ตึกแถว หรือ "เตี้ยมฉู่" และคฤหาสน์หรือ "อั่งม้อหลาว อั่งม้อหลาวเป็นภาษาจีนฮกเกี้ยน "อั่งม้อ" แปลว่า ฝรั่ง หรือชาวต่างชาติ ส่วนคำว่า "หลาว" แปลว่า ตึกคอนกรีต อั่งม้อหลาว ก็คือคฤหาสน์แบบฝรั่งที่นายหัวเหมืองแร่ของ ภูเก็ตสร้างเป็นที่อยู่อาศัยในสมัยนั้น โดยบ้านหลังแรกที่สร้างขึ้นตามแบบชิโน-โปรตุกีส โดยช่างชาวจีนจากปีนัง ก็คือ บ้านชินประชาของพระพิทักษ์ ชินประชา นายเหมืองต้นตระกูลตัณฑวนิชตั้งอยู่ถนนกระบี่ ถือว่าเป็นต้น แบบของบ้านคหบดีจีนที่กระจายอยู่ทั่วทั้งเมืองภูเก็ต ตึกแถวเป็นอาคารสองชั้นกึ่งร้านค้ากึ่งที่อยู่อาศัย ลักษณะ ลึกและแคบ ชั้นล่างแบ่งพื้นที่ใช้สอยไปตามความลึกได้ถึงห้าส่วนด้านหน้าเป็นร้านค้าหรือสำนักงาน ถัดไปเป็น ห้องรับแขก ห้องพักผ่อน ห้องอาหาร ห้องครัว ภายในอาคารมักมีฉิ่มแจ้ หรือบ่อน้ำบาดาลหนึ่งบ่อและเจาะช่อง ให้อากาศถ่ายเทและแสงส่องเข้าอาคาร ตึกแถวในภูเก็ตจึงเย็นสบาย ส่วนที่ชั้นสองเป็นห้องนอนหน้าตึกแถวมีทาง เดินเท้า ทำเป็นช่องซุ้มโค้งเชื่อมกันไปตลอด ทั้งแนวตึกแถว เรียกว่า อาเขต (arcade) โดยมีชั้นบนยื่นล้ำ ออกมา เป็น หลังคากันแดดกันฝนซึ่งตกเกือบตลอดปี นับเป็นสถาปัตยกรรมที่สัมพันธ์กับ สภาพภูมิอากาศอีกทั้งยัง แสดง ให้เห็นถึงความเอื้ออาทร ของเจ้าของบ้านกับผู้สัญจร ที่ชั้นสองด้านหน้าอาคารเน้นการ เจาะช่องหน้าต่างเป็น ซุ้มโค้งคูหาละสามช่อง ขนาบข้างด้วยเสาแบบกรีก และโรมัน บนพื้นผนังตกแต่งด้วยลายปูนปั้นทั้งแบบจีน และ ตะวันตก ผสมกันอย่างลงตัว สามารถเดินชมได้ทั่วทั้งถนนถลาง ดีบุก พังงา กระบี่และเยาวราชนอกจากนี้ย่าน โคมเขียว โคมแดงในอดีตที่ซอยรมณีย์ก็มีตึกสีสันสวยแปลกตากว่าถนนไหนๆ
ช่วงที่ 1 ณ ถนนภูเก็ต ถนนรัษฎา และถนนระนอง
เริ่มจากศูนย์รวมข่าวพรหมเทพ เริ่มจากศูนย์รวมข่าวพรหมเทพ ซึ่งตั้งอยู่หัวมุมถ.พังงาตัดกับถ.ภูเก็ต เมื่อเดินลง มาตามทิศใต้ เลี้ยวขวาเข้าถ.รัษฎาไปจนถึงวงเวียนสุริยเดช และตรงไปตามถ.ระนอง ผ่านตลาด จนถึงบริษัท การบินไทยซึ่งช่วงนี้จะได้พบกับตึกสวยงามมากมาย อาทิ ศูนย์รวมข่าวพรหมเทพ อาคารสีขาว 2 ชั้น ที่โดดเด่น ด้วยหอนาฬิกาสูง 4 ชั้น มีหลังคาคล้ายรูปหมวกตำรวจสมัยก่อน ช่องประตูหน้าต่างแบ่งเป็นช่องโค้งมีเสาอิงแบ่ง เป็นช่วง ประดับลายปูนปั้นบนยอดซุ้มโค้งสวยงามและโรงแรมถาวร โรงแรมเก่าแก่ ที่เมื่อเข้าไปภายในโถง โรงแรมและส่วนคอฟฟี่ชอป จะได้รับรู้เรื่องราวเกี่ยวกับเมืองภูเก็ตผ่านนิทรรศการ ภาพถ่าย และมีเครื่องเรือน ตู้โทรศัพท์ เครื่องฉายภาพยนตร์ เครื่องแต่งกาย ข้าวของเครื่องใช้ของคนงานในเหมืองให้ได้ชมอีกด้วย
ช่วงที่ 2 ถนนพังงา ถนนภูเก็ต และถนนมนตรี
เริ่มต้นที่มุมถ.ระนองตัดกับถ.เยาวราช บริเวณวงเวียนสุริยเดช เดินไปตามถ.เยาวราช 70 ม.เลี้ยวขวาเข้าถนนพังงา จนถึ สี่แยกตัดกับถนนภูเก็ต ซึ่งช่วงนี้อาจเลี้ยวซ้ายตามถ.ภูเก็ต ข้ามไปสี่แยกถ.มนตรีแล้วเลี้ยวซ้ายเข้าถ.มนตรี เส้นทางช่วงนี้เป็นเส้นที่มีตึกแถวเก่า ศาลเจ้าเก่า อาคารสาธารณะ อาคารราชการ ซึ่งแต่ละที่ล้วนแล้วแต่มี สถาปัตยกรรมสไตล์ชิโนโปรตุกีสที่งดงาม
ช่วงที่ 3 ถนนถลางและซอยรมณีย์
เป็นถนนสายประวิติศาสตร์อันเก่าแก่ ตรงช่วงนี้จะมีอาคารตึกแถวเก่าที่มีรูปแบบเดิมๆเกาะกลุ่มกันอยู่เป็นจำนวนมากโดยมีจุดเด่นอยู่ตรงที่มีการเปิด ช่องทางเดินเอาไว้เหมือนในอดีต ซึ่งเส้นทางนี้เริ่มต้นจากสี่แยกถ.ถลางตัดกับถ.ภูเก็ตไปจนสุดสี่แยกตัดกับ ถ.เยาวราช มีตึกแถวกว่า 151 คูหาโดยมีตึกแถวที่น่าสนใจตรงช่วงตึกแถวบ้านเลขที่ 107 ถึง 129ที่ตัวตึกมี รูปแบบการตกแต่งช่องหน้าต่างโค้งตามแบบสถาปัตยกรรมยุคนีโอคลาสสิค มีลวดลายที่ดงามเน้นธรรมชาติเถาไม้ ใบไม้ และรูปสัตว์ และก็มีตึกแถวตรงฝั่งเลขคู่ช่วงปลายถนน ซึ่งตึกแถวบริเวณนี้มีลักษณะเด่นอยู่ที่ประตูด้านหน้า เป็นแบบบานเฟี้ยมไม้เก่าแก่ ช่วงเสาจะกว้างเท่ากับตึก 2 คูหารวมกัน มีการนำศิลปะการเจาะช่องหน้าต่างและ ลวดลายปูนปั้นแบบอาร์ตเดโคมาใช้ได้อย่างกลมกลืนและสวยงาม
บ้านเรือนและร้านค้าย่านถนนถลาง
ย่านเก่าภูเก็ต ย่านเก่าภูเก็ต
สีสันของซอยรมณีย์
ช่วงที่ 4 ถนนกระบี่ และถนนสตูล
เริ่มจากถ.กระบี่บริเวณแยกถ.เยาวราช เดินไปทางตะวันตกจนถึงสามแยกตัดกับถ.สตูล เดินตรงไปถึงบ้าน คุณประชา ตัณฑวณิช ย้อนกลับมาจนถึงสามแยกตัดกับถ.ดีบุก เส้นทางสายนี้มีอาคารเก่าที่ชวนชม อย่างอาคาร พิพิธภัณฑ์ภูเก็ตไทยหัว เป็นตึก 2 ชั้น ชั้นล่างมีซุ้มโค้งเตี้ยขนาดใหญ่ 3 ซุ้ม มีเสากลมรับโค้ง หัวเสาประดับ ด้วยลายบัวแบบกึ่งไอโอนิค และคอรินเธียน ผนังอาคารเซาะร่องขนาดใหญ่ เรียกว่า Rustication ชั้นบนมี ซุ้ม หน้าต่าง 3 ซุ้ม มีช่องหน้าต่าง 2 ช่องกรอบหน้าต่างด้านบนเป็นจั่วโรมัน บานหน้าต่างไม้สี่เหลี่ยม มีลวดลาย เรขาคณิต เหนือซุ้มช่วงกลางมีหน้าจั่วปูนปั้นรูปค้างคาว และช่วงถนนนี้ยังมีร้านอาหารท้องถิ่นจำนวนมาก เพื่อว่า เดินไปแล้วหิวก็แวะเช้าไปชิมกันได้ ไม่ว่าจะเป็นร้านสุนทรโอชาขายข้าวต้มและอาหารพื้นเมือง ร้านขนมจีนป้ามัย ร้านหมี่แป๊ะแถว
พิพิธภัณฑ์ภูเก็ตไทยหัวแหล่งเรียนรุ้ถึงวิถีชีวิตในอดีตของชาวภูเก็ต
พิพิธภัณฑ์ภูเก็ตพิพิธภัณฑ์ภูเก็ต
ช่วงที่ 5 ถนนเยาวราช ตรอกสุ่นอุทิศ ถนนดีบุก
ช่วงนี้เริ่มจากแยกถ.ดีบุกตัดกับถ.สตูล เดินตามถ.ดีบุกจนถึงสี่แยกตัดกับถ.เยาวราช พอเลี้ยวขวาเข้า ถ.เยาวราช จะได้สัมผัสกับบรรยากาศตึกเก่าและแวะลิ้มรสอาหารอร่อยในตรอกสุ่นอุทิศ แล้วย้อนกลับมา สี่แยกเลี้ยวเข้า ถ.ดีบุก อีกช่วงหนึ่งจะเข้าสู่ซอยรมณีย์ การเดินชมเมืองในช่วงนี้จะได้สัมผัสกับความหลากหลาย ของตึกชิโน โปรตุกีส ที่หาดูได้ยาก อย่างที่บ้านหลวงอำนาจนรารักษ์ เป็นบ้านที่มีความงดงามโดดเด่นอยู่ที่ลายปูนปั้นตั้งแต่ หัวเสาแบบคอมโพสิต และช่วงคานเหนือเสา เป็นศิลปะแบบกรีกยุคคลาสสิคผสานกับปูนปั้นลายค้างคาว ลายหงส์ ลายเมฆ รวมทั้งลายใบไม้ และผลไม้ ซึ่งเป็นสัญลักษณ์มงคลของคนจีน
และสุดท้าย ช่วงที่ 6 ถนนกระษัตรี
ช่วงนี้เป็นช่วงต่อจากเส้นทางเดินที่ซ.รมณีย์ เลี้ยวซ้ายทะลุออกถ.ถลาง เมี่อถึงสี่แยกเลี้ยวซ้ายเดินตาม ถ.เทพกระษัตรี พอถึงแยกตัดกับถ.ดีบุก อาจแวะชมบ้านเก่าแล้วย้อนออกมาตามถ.เทพกระษัตรีอีกครั้งจนไปสิ้น สุดเส้นทางที่คฤหาสน์ตระกูลหงส์หยก หรือบ้านหลวงอนุภาษภูเก็ตการ ซึ่งเป็นบ้านที่สร้างในสมัยร. 7 ด้านหน้า อาคารเป็นรูปโค้งครึ่งวงกลมกลมขนาดใหญ่ที่รถยนต์เข้าไปจอดเทียบได้ ชั้นล่างเป็นซุ้มโค้งเตี้ย 3 โค้ง หัวเสา จะเป็นแบบดอริก ผนังเซาะเป็นร่องลึก คล้ายแนวหินก่อ ชั้นบนเป็นระเบียง มีลูกกรงปูนปั้นประดับ หลังคาทรง ปั้นหยา ด้านปีกซ้ายมีช่องแสงเป็นรูปโค้งครึ่งวงกลมประดับด้วยบานเกล็ดไม้ ด้านปีกขวาตกแต่งช่องแสงด้วย กระจกสีต่างๆ กรุในกรอบสี่เหลี่ยมมีรูปวงกลมอยู่ข้างใน นับว่าเป็นคฤหาสน์หลังใหญ่ที่ งดงามทางด้าน สถาปัตยกรรมเป็นอย่างมาก
สมาคมฮกเกี้ยนสามัคคี
เมืองเก่าภูเก็ต
บริษัทอนุภาษและบุตร บ้านหลวงอนุภาษภูเก็ตถาวร
เมืองเก่าภูเก็ตเมืองเก่าภูเก็ต
จากเรื่องราวของตัวตึกเก่าที่ยังคงมีชีวิตชีวาของผู้คนเด่นชัด อีกความน่าสนใจในย่านนี้ก็คือ การชิมอาหาร พื้นเมืองภูเก็ต ซึ่งอาหารส่วนใหญ่เป็น อาหารจีนฮกเกี้ยนและปีนัง อาหารเผ็ดร้อนแบบไทยภาคใต้และ อาหารมุสลิม
มื้อเช้า
คนภูเก็ตไม่ค่อยกินข้าวเป็นอาหารเช้า ส่วนมากจะนิยมเป็นติ่มซา หรือโรตี มะตบะ กับชาร้อน สำหรับร้านติ่มซำ แนะนำร้านสมชายกิตติ ที่ขายทั้งติ่มซำกลั้วกับกาแฟร้อนสูตรโบราณที่นี่เขาเสิร์ฟทีเดียวนับสิบชนิด ไม่ว่าจะ เป็นขนมจีบ ซาลาเปา ฮะเก๋า สาหร่าย ปูทอด ลูกชิ้นปลา ฯลฯ จะเลือกกินอะไรก็ได้ คิดเงินตามจำนวน ถ้วย เปล่าเท่านั้นส่วนโรตีแกงข้ามสู่ถนนถลาง เดินไปเพียงไม่กี่เมตร ด้านซ้ายมือ ก็จะพบกับรา้นอรุณโภชนา ร้านชื่อ ดังย่านถนน ถลาง เปิดขายตั้งแต่ 6.30 - 17.00 น. ซึ่งเป็นร้านขายอาหารของมุสลิม ทั้งโรตีแกง มีให้เลือก ทั้งแกงเนื้อ แกงไก่ รวมถึงเมนูเด็ดอื่นๆที่เจ้าของร้านคุณมนัสดา ดา เจ้าของ ร้านอรุณโภชนา แนะนำมา ทั้ง ซุปเนื้อ ข้าวหมกไ่ก่ และเมนููสุขภาพ ข้าวยำปัตตานี และมะตะบะได่ ที่ได้รับรางวัลโดยกรมสุขภาพ
ช่วงเที่ยง-บ่าย
ส่วนมื้อเที่ยงก็นิยมกินหมี่กัน อย่างหมี่ฮกเกี้ยน เส้นหมี่เหลืองกลมใหญ่ผัดซีอิ๊ว หรือนำมาปรุงเป็นหมี่น้ำ ใส่ซุป และเครื่องซีฟู้ด หมี่หุ้นปาฉ่างก็รสชาติดี เป็นเส้นหมี่ขาวผัดแห้งโรยหอมเจียว กินกับซุปกระดูกหมูช่วยให้คล่องคอ สำหรับคนที่ชอบเครื่องในต้องโลบะ สารพัดเครื่องในหมูปรุงกับเครื่องพะโล้แล้วทอดกินกับเต้าหู้ทอด และน้ำจิ้มรส หวาน หรืออาหารชื่อแปลกโอต๊าว หน้าตาคล้ายหอยทอด ใช้หอยนางรมผัดกับแป้ง เผือก และไข่ ที่อร่อยและ แนะนำให้ชิมก็คือกะหรี่ไหมฝัน เส้นหมี่กับแกงกะหรี่ แต่เจ้าเส้นหมี่ที่ว่าหน้าตาค่อนไปทางขนมจีนเส้นเล็กเสีย มากกว่าราดด้วย แกงกะหรี่ไก่ ใส่เลือดหมู เต้าหู้ ผักบุ้ง ถั่วงอก ก่อนกินอย่าลืมบีบมะนาวเพิ่มรสชาติ จะว่าไป รสชาติก็คล้ายกับข้าวซอยของทางเชียงใหม่ในภาคเหนืออยู่เหมือนกัน แนะนำ่ร้านสมจิตต์ หมี่ฮกเกี้ยน แถวๆ หอนาฬิกาน้ำที่เรียกว่าหมี่เช็ค ซึ่งพี่สมจิตต์ ปัญจะมีดิถี เจ้าของร้านบอกว่า เป็นสูตรมาจากรุ่นอากงคือแป๊ะหัง ที่มา เปิดขายเป็นเจ้าแรกในภูเก็ต กว่าจะตกมาถึงรุ่นที่สามก็ 60 กว่าป ีน้ำซุปที่นี่หวานหอมจนเป็นเอกลักษณ์ ต้มด้วย กุ้งทั้งเปลือก ใครสั่งหมี่แห้งอย่าลืมขอน้ำซุปมาซดพร้อมกันไปด้วยบ่าย ๆ หาก เหนื่อยหรือหิว ที่แยก ถนนเยาวราชตัดกับถนนดีบุกก็เป็นแหล่งรวมของกินพื้นเมืองชั้นดี ทั้งโลบะที่เป็นส่วนของหัวหมู และเครื่องใน ต้มพะโล้ จากนั้นนำไปทอดจนเหลืองกรอบ ถ้าอยากลองแห่จี่ที่เป็นแป้งผสมถั่วงอก โรยหน้าด้วยกุ้งสดทอด หรือ เกี้ยน ที่ทำจากหมู ปู กุ้ง สับรวมกับมันแกวและเผือก ห่อด้วยแผ่นฟองเต้าหู้แล้วทอดจนน่ากินก็สั่งรวมกันได้ ได้ จิ้มกับน้ำจิ้มสูตรเด็ดที่ถามอย่างไรพี่เขาก็ไม่ยอมบอกสูตร อร่อยจนลืมไปเลยว่าเพิ่งกินเที่ยงมา

ใกล้ๆกันบนถนนเยาวราชที่ซอยสุ่นอุทิศที่นี่เป็นแหล่งรวมของอร่อยของชาวภูเก็ตที่เรียงรายกันไปด้วยรถเข็น สามสี่ร้าน เริ่มกันที่คันแรก อาโป๊งแม่สุณี ขนมฮกเกี้ยนโบราณ ทำจากแป้งน้ำตาล กะทิ ไข่ นำมาผสมให้เข้ากัน แล้วทอด พอสุกก็ม้วนเป็นกระบอกคล้ายทองม้วน ต่างกันตรงไม่มีไส้ หอมหวานถูกใจเด็ก ๆ ดีทีเดียว ถัดไปเป็น ร้านขายขนมหวานโอ้เอ๋วที่มีอยู่ถึง 2 ร้าน และเป็นร้านเก่าแก่ทั้งคู่ คือ โกโรจน์และแป๊ะเอ้ง โอ้เอ๋วเป็นขนมกิน เล่นดับร้อนของคนภูเก็ต ลักษณะเป็นวุ้นทำจากกล้วยน้ำว้าขยำกับเม็ดโอ้เอ๋ว โปะด้วยน้ำแข็งไสราดน้ำเชื่อม ร้อน ๆ อย่างนี้ได้ลองสักถ้วยแสนจะชื่นใจในสุดคือหมี่หุ้นป้าฉ่าง หรือบางคนเรียกป้าช้าง หมี่หุ้นคือหมี่ขาวที่ผัดกับซีอิ๊ว โรยด้วยหอมเจียวและต้นหอม หมี่หุ้นกับน้ำซุปกระดูกหมูของป้านั้นชามเล็ก ๆ น่ารัก แต่รสชาติไม่เล็กเหมือนชาม
แผนที่เมืองเก่าภูเก็ต
เริ่มจากตัวเมืองภูเก็ตหากไม่มีรถส่วนตัว สามารถนั่งมอเตอร์ไซต์ราคาประมาณ 40-50 บาท ให้มาส่งที่ย่านเก่า หลังจากนั้นก็เดินชมเมืองต่างๆ ด้วยเท้าไปเรื่อยๆสำหรับผู้ที่มีรถส่วนตัว็สามารถจอดรถ ในจุดไหนที่สะดวกใน บริิเวณใกล้้เคียงแล้วค่อยเดินมา เพราะหากจอดรถแถวย่านเก่าอาจจะหาที่จอดยาก
 

สถานที่ท่องเที่ยว 77 จังหวัด          12 เดือน ดาว 9 ตะวัน 

 

  

Krabi-Your Dream Holiday        View Finder-เกาะพีพี                          

    

               The Most Beautiful Island in Thailand

                                                

 
 
×